21 Feb
21Feb

  รถดับเพลิง เป็นรถยนต์บรรทุกน้ำคันขนาดใหญ่มีสีแดงสะดุดตา มักจะเห็นวิ่งในยามที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน โดยหน้าที่หลัก ๆ จะเป็นการปฏิบัติงานเกี่ยวกับน้ำคู่ไปกับนักดับเพลิงในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างไฟไหม้ ด้วยความสามารถในการฉีดน้ำด้วยแรงดันสูงทำให้สามารถกู้ผจญเพลิงได้รวดเร็ว พร้อมทั้งความสามารถที่สูบน้ำจากแหล่งน้ำได้หลายแหล่ง ทั้งแหล่งน้ำธรรมชาติและทั้งแบบหัวจ่าย ทำให้รถดับเพลิงถือว่าสำคัญในการปฏิบัติงานที่สุดไม่แพ้กับนักดับเพลิงเลยทีเดียว

  และสำหรับวันนี้เรา P.I.E Premium Modern Truck ก็ตั้งใจจะมาแชร์เทคนิคการใช้งานรถดับเพลิง ไว้เป็นความรู้และยังเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ในการทำงานของรถดับเพลิงอีกด้วย

วิธีการใช้งานจะมีเป็นขั้นตอน สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ ดังนี้

1. สตาร์ทเครื่องยนต์ กดเปิด  MAIN  SWITCH ที่แผงสวิตช์ข้างคนขับ


2.  เมื่อขับรถไปถึงที่หมาย จอดรถในจุดที่ปลอดภัย  ดึงเบรกมือทุกครั้ง

3.  เหยียบแป้นกดคลัทช์ให้สุดระยะ

4.  กดเปิดสวิตช์ PTO บนแผงสวิชต์ด้านข้างคนขับ เพื่อเข้าเกียร์ปั๊ม (PUMP PTO) รอจนกว่าไฟแสดงสถานะว่าปั๊มน้ำพร้อมใช้งานติด (ไฟสีเขียวที่สวิตช์ติด) หรือรอประมาณ  3 วินาที

5.  ค่อย ๆ ปล่อยแป้นกดคลัทช์ช้า ๆ จนสุดระยะ

6.  ลงจากรถเพื่อไปกดเปิดสวิตช์หลักที่แผงควบคุมท้ายท้ายรถดับเพลิง (กดสวิตช์สีเขียว)

7. เปิดวาล์วส่งน้ำจากถังน้ำดับเพลิงเข้าปั๊มน้ำดับเพลิง โดยการหมุนวงล้อเปิดวาล์วน้ำสีดำในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา

8. เร่งรอบเครื่องยนต์ให้มีความเร็วระหว่าง 1,200 – 1,500 รอบ/นาที โดยการหมุนคันเร่งด้านท้ายรถทวนเข็มนาฬิกา

9. ตรวจดูมาตรวัดแรงดัน ให้แรงดันน้ำอยู่ที่ 3 บาร์10. เปิดวาล์วส่งน้ำวนกลับถังบรรจุน้ำดับเพลิง โดยการยกคันโยกเปิดวาล์ว (สีแดง) ด้านซ้ายสุดขึ้น และปิดวาล์วส่งน้ำวนกลับถังทันทีเมื่อมีน้ำออกจากปืนฉีดน้ำแล้ว

11.เปิดวาล์วท่อส่งน้ำดับเพลิง โดยพิจารณาจากสถานที่เกิดเหตุว่าอยู่ทางด้านกราบขวา หรือกราบซ้ายของรถดับเพลิง การเปิดวาล์วท่อส่งน้ำดับเพลิงใช้วิธีการหมุนวาล์วสีเขียวทวนเข็มนาฬิกา (ท่อทางส่งน้ำดับเพลิงมีจำนวน 4 ท่อ ส่งน้ำออกด้านซ้าย และขวา ด้านละ 2 ท่อ)

12. ปิดวาล์วระบายน้ำทิ้ง (ยกคันโยกขึ้นให้ทำมุม 90 องศากับแนวท่อน้ำทิ้ง)

13. เร่งเครื่องยนต์ให้ได้กำลังดันน้ำตามที่ต้องการ โดยการหมุนคันเร่งด้านท้ายรถทวนเข็มนาฬิกา (กำลังดันน้ำต้องไม่เกิน 10บาร์ หรือรอบเครื่องยนต์ต้องไม่เกิน 3,000 รอบ/นาที เนื่องจากสายส่งน้ำดับเพลิงมีขีดจำกัดในการทนต่อแรงดันน้ำ หากใช้แรงดันน้ำมากกว่านี้อาจจะทำให้สายส่งน้ำดับเพลิงแตกได้)

14. เมื่อปฏิบัติเมื่อเลิกใช้งาน ลดความเร็วรอบเครื่องยนต์ให้เดินเบา โดยการหมุนคันเร่งด้านท้ายรถตามเข็มนาฬิกา

15. ขึ้นไปนั่งประจำที่คนขับ เหยียบแป้นกดคลัทช์จนสุดระยะ และกดปิดสวิตช์ PTO บนแผงสวิชต์ด้านข้างคนขับเพื่อปลดเกียร์ปั๊ม (PUMP PTO)16. รอประมาณ 3 วินาที จึงค่อยๆ ปล่อยแป้นกดคลัทช์ช้าๆ จนสุดระยะ

17. ลงจากรถเพื่อไปกดปิดสวิตช์หลักที่แผงควบคุมท้ายท้ายรถดับเพลิง (กดสวิตช์สีแดง)

18. ปิดวาล์วส่งน้ำจากถังน้ำดับเพลิงเข้าปั๊มน้ำดับเพลิง โดยการหมุนวงล้อปิดวาล์วน้ำสีดำในทิศทางตามเข็มนาฬิกา1

9. เปิดวาล์วระบายน้ำทิ้ง (ดึงคันโยกลงให้ขนานไปกับแนวท่อน้ำทิ้ง)

20. ปิดวาล์วท่อส่งน้ำดับเพลิง ที่ใช้ส่งน้ำเข้าดับเพลิงในที่เกิดเหตุ

21. จัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆ เข้าที่ เช่น สายส่งน้ำดับเพลิง หัวฉีดน้ำดับเพลิง เป็นต้น

โดยทั้งมีข้อควรระวังในการใช้งานอยู่อีกด้วย ดังนี้

1. อย่าจอดรถในที่พื้นอ่อนนิ่ม เพราะอาจจะทำให้ล้อรถจมได้

2. หลีกเลี่ยงการจอดรถบนเชิงลาด  หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรทำการหนุนล้อ

3. ควรเลือกจุดจอดที่รถสามารถเคลื่อนที่ออกไปได้ทันทีหากมีกรณีที่อาจจะไม่ปลอดภัย

4. เมื่อจะใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการดับเพลิง  จะต้องเบรกมือทุกครั้ง  หากไม่ดึงเบรกมือระบบจะไม่จ่ายกระแสไฟให้กับเครื่องมือและอุปกรณ์  ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้

5. การเดินปั๊มสูบน้ำ (ปั๊ม PTO) ตัวเปล่าโดยที่ยังไม่ได้เปิดวาล์วให้น้ำในถังเก็บเข้าปั๊มได้ไม่เกิน  2  นาที  หากเดินปั๊มตัวเปล่านานกว่านี้  อาจจะทำให้ปั๊มได้รับความเสียหายได้

6. หากไม่เปิดวาล์วส่งน้ำวนกลับถังในขณะที่น้ำยังไม่ออกจากปืนฉีดน้ำอาจจะทำให้ใบพัดภายในปั๊มน้ำได้รับความเสียหายได้

7. หากไม่ปิดวาล์วส่งน้ำวนกลับถังภายหลังจากที่น้ำออกจากปืนฉีดน้ำแล้ว  จะมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของปั๊มน้ำลดลง เป็นผลความแรง  และระยะในการฉีดน้ำลดลงไปด้วย


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : แบ่งปันเทคนิคการใช้งานรถดับเพลิง

Comments
* The email will not be published on the website.
I BUILT MY SITE FOR FREE USING