17 Jan
17Jan

PIE Premium Modern Truck ได้รวบรวมข้อกำหนดสำหรับการขับขี่รถยนต์บรรทุก มาเพื่อผู้ที่ต้องการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วงการขับรถยนต์บรรทุกโดยเฉพาะ 

  1. การทำใบอนุญาตในการขับขี่ประเภท 2
    ใบขับขี่ประเภท 2 เป็นใบอนุญาตขับขี่ที่สามารถขับรถสาธารณะได้ ซึ่งแบ่ง2 ประเภท คือ
    1.1. ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท บ.2 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล คือ การอนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคล
    1.2. ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท ท.2 คือ ใบอนุญาตประเภทให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งได้ทุกประเภท ทั้งใช้สำหรับการขับขี่ขนส่งเพื่อการค้า หรือ ธุรกิจส่วนตัว และใช้ขนส่งเพื่อรับจ้าง หรือประกอบธุรกิจการขนส่งได้ เช่น การขนส่งคน การขนส่งสิ่งของ เป็นต้น
    – รถบรรทุกสาธารณะ (ท.2) เช่น รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ ป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง
    – รถบรรทุกส่วนบุคคล (บ.2) เช่น รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว
  2. ต้องรู้เรื่องการจำกัดเวลา และพื้นที่วิ่งของรถบรรทุก
    ได้มีการออกกฎหมายออกมากำหนด ห้ามรถบรรทุกวิ่งพื้นที่ชั้นใน เพราะสภาพการจราจรที่ติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯ กำหนดไว้ดังนี้
    พื้นราบ
    – ห้ามรถบรรทุกก๊าซ วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปและรถพ่วงเดินรถในเขตกรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์– รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 09.00 น. และ เวลา 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
    – รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 10.00 น. และ เวลา 15.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
    – ห้ามรถบรรทุกอื่น เช่น บรรทุกซุง เสาเข็ม เดินรถ เวลา 06.00-21.00 น.ทางด่วน
    – รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.
    – รถบรรทุก 10ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06.00-09.00 น. และ 15.00-21.00 น.
    – รถบรรทุกสารเคมี ห้ามเวลา 06.00-10.00 น. และ 15.00-22.00 น.
  3. น้ำหนักในการบรรทุกต้องถูกต้องตามกฎหมาย.
    ตามประกาศกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกที่เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 ได้กำหนดน้ำหนักของรถบรรทุกรวมน้ำหนักรถไว้ว่า
    – รถ 6 ล้อต้องบรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 15 ตัน
    – รถ 10 ล้อ ต้องบรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 25 ตัน
    – รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกินกว่า 9.5 ตัน
    – รถพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ต้องบรรทุกหนักไม่เกิน 50.5 ตัน
  4. คลุมสิ่งของด้วยผ้าใบและติดอุปกรณ์ยึดให้แน่นหนา
    เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งของตกหล่นระหว่างการเดินทาง และป้องกันแสงที่จะสะท้อนสู่รถคันอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องมีผ้าใบสีทึบเพื่อคลุมไว้ และติดอุปกรณ์เพื่อยึดให้แน่นหนา ซึ่งถ้าหากรถบรรทุกฝ่าฝืนไม่คลุมผ้าใบทำให้มีของตกหล่น จะมีโทษปรับตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.ศ 2522 มาตรา 32 (3) ว่าตัวเจ้าของบริษัทผู้ประกอบการมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท และนายทะเบียนอาจพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ส่วนคนขับมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และหากเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ผู้ประกอบการต้องชดใช้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย (อ้างอิงจาก กรมการขนส่งทางบก)
  5. แผ่นสะท้อนแสงสำหรับการเดินทางตอนกลางคืน
    มีการประกาศนี้บังคับใช้กับรถบรรทุกที่มีจำนวนเพลา ล้อและยาง ตั้งแต่ 2 เพลา 4 ล้อ ยาง 6 เส้น ขึ้นไป (รถสิบล้อขึ้นไป) ยกเว้นรถลากจูง ต้องมีการติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงไว้ หากฝ่าฝืนจะผิด พรบ.ขนส่งทางบก โดยมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท 
  6. GPS ต้องติดตั้งและเปิดไว้ตลอด
    สำหรับเรื่องการติดตั้ง GPS Tracker ของรถบรรทุก ตามกฎหมายใหม่ที่เริ่มบังคับใช้อย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2562 กรมการขนส่งทางบกมีการกำหนดให้ รถเมล์หรือรถทัวร์ (รถโดยสารสาธารณะ), รถลากจูง, รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ทุกคันจะต้องติดตั้งระบบ GPS ก็เพื่อที่จะเชื่อมโยงข้อมูล กับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของภาครัฐ ทำให้สามารถติดตามพฤติกรรมการขับขี่แต่ละคันได้ หากไม่ติดตั้งเครื่องนี้ หรือไม่ดูแลรักษาสภาพเครื่องให้ส่งสัญญาณ GPS ได้ตามปกติ ตัวผู้ขับขี่เองมีโทษ ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งตามกำกระทรวง มีโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท
  7. เช็คน้ำมันให้เพียงพอต่อการเดินทางเสมอ ๆ 
     
Comments
* The email will not be published on the website.
I BUILT MY SITE FOR FREE USING